วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง มัทนะพาธา


โครงงานคอมพิวเตอร์
ประเภท  สื่อเพื่อการศึกษา
เรื่อง มัทนะพาธา
โดย
นางสาว ณิชารัศม์ จารุรังสีพัชญ์ เลขที่13
นางสาว ณัฏฐณิชา พรหมรักษ์ เลขที่16
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบ
ของโครงงานคอมพิวเตอร์
เสนอ
คุณครูรัศมี เทพแก้ว
โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา

บทคัดย่อ

               ''มัทนะพาธา''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะใช้สื่อมีเดีย ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “มัทนะพาธา” เป็นวีดีโอที่สอดแทรกเนื้อหา โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาต่อยอดในวิชาภาษาไทย 


กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ คุณครูรัศมี เทพแก้ว คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

                                                                                                     จัดทำโดย
นางสาว ณิชารัศม์ จารุรังสีพัชญ์
นางสาว ณัฎฐณิชา พรหมรักษ์




สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                             หน้า

บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ

บทที่ 1  บทนำ   
              แนวคิด ที่มา และความสำคัญ                                                                                                    

              วัตถุประสงค์                                                                                                                                                                     ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                             

              ผลที่คาดว่าจะได้รับ   
                                                                                                                  
บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
              ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต                                                                  
              เว็บบล็อก (WebBlog)  
                                                                                                              
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน      
             วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา                                              
             ขั้นตอนการดำเนินงาน 
                                                                                                               
บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงงาน   
              ผลการพัฒนาเว็บบล็อก                                                                                                                     
              ตัวอย่างการนำเสนอหน้าเว็บบล็อก 
                                                                                       
บทที่ สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ      
              การดำเนินงานจัดทำโครงงาน                                                                                
              สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน                                                                                                                   
              ข้อเสนอแนะ    
                                                                                                                             
บรรณานุกรม
ภาคผนวก     


           
                                                                                บทที่ 1
บทนำ
สาระสำคัญของโครงงาน


     เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
    
 บทละครพูดคำฉันท์  เรื่อง  มัทนะพาธาถือเป็นวรรณคดีเรื่องเยี่ยมและได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นแบบอย่างของบทละครพูดคำฉันท์  โดยวรรณคดีเรื่องนี้ให้ความเพลิดเพลินจากเนื้อหาที่ชวนติดตาม  และวรรณศิลป์อันไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักอย่างน่าสนใจ  จึงควรศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้อย่างพินิจพิเคราะห์  เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
    ข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อทางการศึกษาเรื่อง ''มัทนะพาธา''โดยได้รวบรวมข้อมูล เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับมัทนะพาธาและทำวีดีโอ   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจต่อไป

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาสื่อมีเดีย เรื่อง มัทนะพาธา
2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านสื่อมีเดีย
3.  เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

ขอบเขตการศึกษา
      ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับ มัทนะพาธา เพื่อพัฒนาสื่อมีเดียโดยใช้โปรแกรม imovie นำเสนอ

ประโยชน์ที่ได้รับ


1.  ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับมัทนะพาธา

                                            2.  ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสัตว์ป่าสงวน





บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

      การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง มัทนะพาธา  คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

บทวิเคราะห์

คุณค่าด้านเนื้อหา


๑. โครงเรื่อง  เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่องเอง 
ไม่ได้ตัดตอนมาจากวรรณคดีเรื่องใด แก่นสำคัญของเรื่องมีอยู่  ๒  ประการ คือ  
                       ๑)  ทรงปราถนาจะกล่าวถึงตำนานดอกกุหลาบ  ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม  แต่ไม่เคยมีตำนานในเทพนิยาย  จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีกำเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้ชื่อว่า 
 "ดอกกุพฺชกะ" คือ  "ดอกกุหลาบ"  

                        ๒)  เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก  ทรงแสดงให่เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง  
ผู้ใดมีความรักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย  ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า  "มัทนะพาธา"  อันเป็นชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง
  ซึ่งมีความหมายว่า  "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก"  มีการผูกเรื่องให้มีความขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง  คือ   

                ๑)  สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนา  แต่นางไม่รับรักตอบจึงสาปนางเป็นดอกกุพฺชกะ (กุหลาบ)  

                ๒)  นางมัทนาพบรักกับท้าวชัยเสน  แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเพราะนางจันทีมเหสีของท้าวชัยเสนวาง
อุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด  สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์เทพบุตร  
และสุเทษณ์เทพบุตรขอความรักนาง  อีกครั้งแต่นางปฏิเสธช่นเคย  เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความเจ็บปวด
ด้วยกันทุกฝ่าย

        ๒.  ตัวละคร  
                ๒.๑  สุเทษณ์  เป็นเทพบุตรที่หมกมุ่นในตัณหาราคะ  เจ้าอารมณ์  เอาแต่ใจตนเอง  และไม่คำนึงถึง
ความรู้สึกของผู้อื่น  ดังตัวอย่างบทกวีต่อไปนี้
                    สุเทษณ์     :    เหวยจิตรเสน  มึงบังอาจเล่น  ล้อกูไฉน?
                    จิตระเสน    :   เทวะ,  ข้าบาท  จะบังอาจใจ  ทำเช่นนั้นไซร้ได้บ่พึงมี.
                    สุเทษณ์     :     เช่นนั้นทำไม  พวกมึงมาให้  พรกูบัดนี้,  ว่าประสงค์ใด  ให้สมฤดี?  มึงรู้อยู่นี่?  
ว่ากูเศร้าจิต  เพราะไม่ได้สม 
                                            จิตที่ใฝ่ชม,  อกกรมเนืองนิตย์.
                    จิตระเสน    :    ตูข้าภักดี  ก็มีแต่คิด  เพื่อให้ทรงฤทธิ์   โปรดทุกขณะ.
                    สุเทษณ์     :     กูไม่พอใจ  ไล่คนธรรพ์ไป  บัดนี้เทียวละ  อย่ามัวรอลั้ง   
  ๒.๒  มัทนา   ซื่อสัตย์  นิสัยตรงไปตรงมา  คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น  ไม่รักก็บอกตรงๆ  ไม่พูดปดหลอกลวง  ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม  พูดแต่ความจริง  แต่ความจริงที่นางพูดทำให้นางต้องได้รับความลำบากทุกข์ระทมใจ  
ดังตัวอย่างเมื่อสุเทษณ์บอกรักนางและขอนางให้คำตอบ

                                                            ฟังถ้อยดำรัสมะธุระวอน                    ดนุนี้ผิเอออวย.
                                                จักเปนมุสาวะจะนะด้วย                                 บมิตรงกะความจริง.
                                                อันชายประกาศวะระประทาน                         ประดิพัทธะแด่หญิง,
                                                หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง                           ผิวะจิตตะตอบรัก;
                                                แต่หากฤดีบอะภิรม                                        จะเฉลยฉะนั้นจัก
                                                เปนปดและลวงบุรุษะรัก                                 ก็จะหลงละเลิงไป.
                                                ตูข้าพระบาทสิสุจริต                                      บมิคิดจะปดใคร,
                                                จึ่งหวังและมุ่งมะนะสะใน                               วรเมตตะธรรมา.


            ๒.  กลวิธีในการดำเนินเรื่อง
                 การดำเนินเรื่องใช้กลวิธีให้มายาวินเป็นผู้เล่าอดีตชาติของสุเทษณ์เทพบุตร  และดำเนินเรื่องโดย
แสดงให้เห็นลักษณะของสุเทษณ์เทพบุตรผู้เป็นใหญ่  ว่ามีบุญมีวาสนามาก  มีบริวารพรั่งพร้อมควรที่จะเสวยสุขใน
วิมานของตน  กลับเอาแต่ใจตนเองหมกมุ่นอยู่ในกามตัณหาราคะ  เฉพาะนางเทพธิดาที่ประดับบารมีก็มากล้นเหลือ 
 จะเสวยสุขอย่างไรก็ได้  แต่ก็ยังไม่พอ

                 ศิลปะการดำเนินเรื่อง  เปรียบให้เห็นว่าชายที่ร่ำรวยด้วยเงิน  อำนาจวาสนาอยากได้อะไรก็จะต้องเอาให้ได้
  เมื่อไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล  ไม่ได้ด้วยมนตร์ต้องเอาด้วยคาถา  ผู้หญิงจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มีอะไรจะ
ไปต่อสู้  และมีไม่น้อยที่หญิงจะหลงไปติดในวิมานของคนร่ำรวย
                 การดำเนินเรื่องกำหนดให้สุเทษณ์สาปนางมัทนาให้เป็นดอกกุหลาบ  ต่อเมื่อถึงคืนเดือนเพ็ญจะกลาย
ร่างเป็นหญิงรูปงามหนึ่งวันหนึ่งคืน  หากมีความรักเมื่อใดจึงจะกลายเป็นมนุษย์อย่างถาวร  และขอให้นางพบกับ
ความทุกข์ระทมจากความรัก  หากนางมีความทุกข์ระทมเพราะความรักเมื่อก็ให้ไปอ้อนวอนสุเทษณ์ๆ  จึงจะยกโทษให้ 
                 เพราะสุเทษณ์เทพบุตรหวังว่าเมื่อนางต้องผิดหวังทุกข์ระทมเพราะความรัก  คงจะเห็นใจตนและยินดีรับรักบ้าง  แต่สุเทษณ์คาดการณ์ผิด   เพราะเรื่องกลับจบลงด้วยนางมัทนามาอ้อนวอนให้รักของนางสมหวัง  สุเทษณ์เทพบุตรขอให้นางรับรักก็ถูกปฏิเสธอีก  สุเทษณ์จึงโกรธแค้นและสาปนางให้เป็นดอกกุหลาบชั่วนิรันดร์             
 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.  การใช้ถ้อยคำและรูแบบคำประพันธ์เหมาะสมกับเนื้อหา  ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม  เกิดความประทับใจอยากติดตามอ่าน  เช่น  เมื่อมายาวินเล่าเรื่องราวในอดีตถวายสุเทษณ์ว่าเหตุใดมัทนาจึงไม่รักสุเทษณ์  กวีเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์  ๑๑  ที่มีท่วงทำนองเร็วเหมาะแก่การเล่าความ  หรือบรรยายเรื่อง  ส่วนเนื้อหาตอนสุเทษณ์ฝากรักนางมัทนานั้นใช้วสันตดิลกฉันท์  ซึ่งมีท่วงทำนองที่อ่อนหวาน  เมื่อสุเทษณ์กริ้วนางมัทนาก็ไช้ กมลฉันท์  ซึ่งมีคำครุลหุที่มีจำนวนเท่ากันแต่ขึ้นต้นด้วยคำลหุ  จึงมีทำนองประแทกกระทั้นถ่ายทอดอารมณ์โกรธเกรี้ยวได้ดี ดังตัวอย่าง

                                                                                    มะทะนาชะเจ้าเล่ห์        ชิชิช่างจำนรรจา,....
                                                                         ....................................
                                                                        ก็และเจ้ามิเต็มจิต                       จะสดับดนูชวน,
                                                                        ผิวะให้อนงค์นวล                       ชนะหล่อนทนงใจ.
                                                                        บ่มิยอมจะร่วมรัก                        และสมัครสมรไซร้,
                                                                        ก็ดะนูจะยอมให้                          วนิดานิวาศสวรรค์,....


            ๒.  การใช้โวหาร  กวีใช้อุปมาโวหารในการกล่าวชมความงามของนางมัทนาทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ
ความงามของมัทนาเด่นชัดขึ้น  ดังตัวอย่าง
                                                                                    งามผิวประไพผ่อง               กลทาบศุภาสุพรรณ
                                                                        งามแก้มแฉล้มฉัน                            พระอรุณแอร่มละลาน
                                                                        งามเกศะดำขำ                                 กลน้ำ ณ ท้องละหาน
                                                                        งามเนตรพินิจปาน                           สุมณีมะโนหะรา
                                                                        งามทรวงสล้างสอง                         วรถันสุมนสุมา-
                                                                        ลีเลิดประเสริฐกว่า                           วรุบลสะโรชะมาศ
                                                                        งามเอวอนงค์ราว                             สุระศิลปชาญฉลาด
                                                                        เกลากลึงประหนึ่งวาด                      วรรูปพิไลยพะวง
                                                                        งามกรประหนึ่งงวง                           สุระคชสุเรนทะทรง
                                                                        นวยนาฏวิลาศวง                              ดุจะรำระบำระเบง
                                                                        ซ้ำไพเราะน้ำเสียง                            อรเพียงภิรมย์ประเลง,
                                                                        ได้ฟังก็วังเวง                                    บ มิว่างมิวายถวิล
                                                                        นางใดจะมีเทียบ                               มะทะนา ณ ฟ้า ณ ดิน
                                                                        เป็นยอดและจอดจิน-                        ตะนะแน่ว ณ อก ณ ใจ



            ๓.  การใช้ลีลาจังหวะของคำทำให้เกิดความไพเราะ  กวีมีความเชี่ยวชาด้านฉันทลักษณ์อย่างยิ่ง  สามารถ
แต่งบทเจรจาของตัวละครให้เป็นคำฉันท์ได้อย่างดีเยี่ยม  อีกทั้งการใช้ภาษาก็คมคาย  โดยที่บังคับฉันทลักษณ์ 
 ครุ  ลหุ  ไม่เป็นอุปสรรคเลย  เช่น  บทเกี้ยวพาราสีต่อไปนี้ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์  ๑๔  มีการสลับตำแหน่งของคำ  
ทำให้เกิดความไพเราะได้อย่างยอดเยี่ยม

                        สเทษณ์ :     พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิ้งไป

                        มัทนา :    พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอกจะทิ้งเสีย?

                        สุเทษณ์ :    ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย

                         มัทนา :    ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ



           ๔.  การใช้คำที่มีเสียงไพเราะ  อันเกิดจากการเล่นเสียงสัมผัสคล้องจอง  และการหลากคำทำให้เกิดความไพเราะ  เช่น  ตอนมายาวินร่ายมนตร์

                                              อ้าสองเทเวศร์        โปรดเกศข้าบาท         ทรงฟังซึ่งวาท          ที่กราบทูลเชอญ
                                    โปรดช่วยดลใจ                 ทรามวัยให้เพลิน         จนลืมขวยเขิน         แล้วรีบเร็วมา
                                     ด้วยเดชเทพไท้                ทรามวัยรูปงาม            จงได้ทราบความ     ข้าขอนี้นา
                                     แม้คิดขัดขืน                     ฝืนมนตร์คาถา             ขอให้นิทรา             เข้าสึงถึงใจ
                                     มาเถิดนางมา                   อย่าช้าเชื่องช้อย         ตูข้านี้คอย               ต้อนรับทรามวัย
                                     อ้านางโศภา                     อย่าช้ามาไว                ตูข้าสั่งให้                โฉมตรูรีบจร.
                                     โฉมยงอย่าขัด                  รีบรัดมาเถิด                 ขืนขัดคงเกิด           ในทรวงเร่าร้อน
                                      มาเร็วบัดนี้                       รีบลีลาจร                     มาเร็วบังอร             ข้าเรียกนางมา

                จากตัวอย่างมีการเล่นเสียงสัมผัสใน  ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร และการหลากคำ
 วรรณศิลป์
 คุณค่าด้านสังคม
            ๑.  สอดแทรกความคิดเกี่ยวกับความเชื่อในสังคมไทย  เช่น
                ๑.๑  ความเชื่อเรื่องชาติภพ
                ๑.๒  ความเชื่อเรื่องการทำบุญมากๆ  จะได้ไปเกิดในสวรรค์  และเสวยสุขในวิมาน
                ๑.๓  ความเชื่อเรื่องทำกรรมสิ่งใดย่อมได้รับผลกรรมนั้น
                ๑.๔  ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา  การทำเสน่ห์เล่ห์กล
  ๒.  แสดงกวีทัศน์  โดยแสดงให้เห็นว่า  "การมีรักเป็นทุกข์อย่างยิ่ง"  ตรงตามพุทธวัจนะที่ว่า  "ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์"  เช่น
                ๒.๑  สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์  แม้เมื่อได้เสวยสุขเป็นเทพบุตรก็ยัง
รักนางมัทนาอยู่  จึงทำทุกอย่างเพื่อให้ได้นางมาแต่ไม่สมหวังก็พร้อมที่จะทำลาย   ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่
เห็นแก่ตัวควรหลีกหนีให้ไกล
                ๒.๒  ท้าาสุราษฎร์รักลูกและรักศักดิ์ศรี  พร้อมที่จะปกป้องศักดิ์ศรีและลูกแม้จะสู้ไม่ได้และต้องตาย
แน่นอนก็พร้อมที่จะสู้  เพราะรักของพ่อแม่เป็นรักที่ลริสุทธิ์และเที่ยงแท้

                ๒.๓  นางมัทนารักบิดา  นางยอมท้าวสุเทษณ์เพื่อปกป้องบิดา  รักศักดื์ศรีและรักษาสัจจะ  
เมื่อทำตามสัญญาแล้วจึงฆ่าตัวตาย  รักของนางมัทนาเป็นความรักที่แท้จริงมั่นคง  กล้าหาญและเสียสละ
                ๒.๔  ท้าวชัยเสนและนางจันที  เป็นความรักที่มีความใคร่และความหลงอยู่ด้วยจึงมีความรู้สึกหึงหวง  
โกรธแค้นเมื่อถูกแย่งชิงคนรัก  พร้อมที่จะต่อสู้ทำลายทุกอย่างเพื่อให้ได้กลับคืนมา
                
                ตัวละครทั้งหมดในเรื่องประสบแต่ความทุกระทมจากความรัก  มีรักแล้วรักไม่สมหวังก็เป็นทุกข์  อยู่กับ
คนที่ไม่รักก็เป็นทุกข์  มีรักแล้วไม่ได้อยู่กับคนรักก็เป็นทุกข์  มีความรักแล้วถูกแย่งคนรักก็เป็นทุกข์  มีรักแล้ว
พลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์

แก่นของเรื่องมัทนะพาธาแสดงให้เห็นว่า  ผู้ที่มีความรักต้องเจ็บปวดจากความรักทั้งสิ้น

           ๓.  ให้ข้อคิดในการครองตน  หญิงใดอยู่ในฐานะอย่างนางมัทนาจะต้องมีความระมัดระวังตัว  หลีกหนีจาก
ผู้ชายมาราคะให้ไกล  กวีจึงกำหนดให้ทางมัทนาถูกสาปกลายเป็นดอกไม้ชื่อดอกกฺุชกะ (กุหลาบ) ซึ่งสวยงามมีหนามแหลมคมเป็นเกราะป้องกันตนให้พ้นจากมือผู้ที่ปรารถนาจะหักหาญรานกิ่งหรือเด็ดดอกไปเชยชม  ดอกกุหลาบจึงเป็นสัญลักษณ์แทนหญิงสาวที่มีรูปสวยย่อมเป็นที่หมายปองของชายทั่วไป หนามแหลมคมเปรียบเหมือนสติปัญญา 
 ดังนั้นถ้าหญิงสาวที่รูปงามและมีความเฉลียวฉลาดรู้ทันเล่ห์เหลี่ยม  ย่อมสามารถเอาตัวรอดจากผู้ที่หมายจะ
หยามเกียรติหรือหมิ่นศักดิ์ศรีได้

            ๔.  ให้ข้อคิดในเรื่องการมีบริวารที่ขาดคุณธรรมอาจทำให้นายประสบหายนะได้  เช่น  บริวารของท้าวสุเทษณ์
ที่เป็นคนธรรพ์  ชื่อจิตระเสนมีหน้าที่บำรุงบำเรอให้เจ้านายมีความสุข  มีความพอใจ  ดังนั้นจึงทำทุกอย่างเพือ่เอาใจ
ผู้เป็นเจ้านาย  เช่น  แสวงหาหญิงงามมาเสนอสนองกิเลสตัณหาของเจ้านาย  ให้วิทยาธรชื่อมายาวินใช้เวทมนตร์
สะกดนางมัทนามาให้ท้าวสุเทษณ์  บริวารลักษณะอย่างนี้มีมากในสังคมจริง  ซึ่งมีส่วนให้นาย หรือประเทศชาติ 
ประสบความเดือดร้อนเสียหายได้
        
              บทละครพูดคำฉันท์  เรื่อง  มัทนะพาธาถือเป็นวรรณคดีเรื่องเยี่ยมและได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร
ให้เป็นแบบอย่างของบทละครพูดคำฉันท์  โดยวรรณคดีเรื่องนี้ให้ความเพลิดเพลินจากเนื้อหาที่ชวนติดตาม  
และวรรณศิลป์อันไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักอย่างน่าสนใจ  จึงควรศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้อย่าง
พินิจพิเคราะห์  เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์


                   เรื่องย่อ


   จอมเทพสุเทษณ์เป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถผู้สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม สุเทษณ์ก็มิสนใจไยดี จิตระรถจึงนำมายาวินวิทยาธรมาเฝ้า สุเทษณ์ให้มายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางมัทนาก็เหม่อลอยมิมีสติสมบูรณ์เพราะตกอยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์มิต้องการได้นางด้วยวิธีเยี่ยงนั้น จึงให้มายาวินคลายมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นางมัทนาก็ปฏิเสธว่ามิมีจิตเสน่หาตอบด้วยมิว่าสุเทษณ์จะเกี้ยวพาและรำพันรักอย่างไร สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์ มัทนาขอให้นางได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลายที่งามทั้ง กลิ่นทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ยังไม่เคยมีบนโลกมนุษย์ โดยที่ในทุกๆ ๑ เดือน นางมัทนาจะหลายร่างเป็นคนได้ชั่ว ๑ วัน ๑ คืน ในเฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางก็จะมิต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมานเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมือนั้น ถ้านางอ้อนวอนขอความช่วยเหลือตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นางนางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวัน บรรดาศิษย์ของฤษีนามกาละทรรศินมาพบเข้าจึงนำความไปบอกพระอาจารย์ กาละทรรศินจึงให้ขุดไปปลูกในบริเวณอาศรมของตนในขณะที่จะทำการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้อง กาละทรรศินเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและสัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องสืบไป เมื่อนั้น การจึงสำเร็จด้วยดี วันเพ็ญในเดือนหนึ่งท้าวชัยเสนกษัตริย์แห่งหัสตินาปุระได้เสด็จออกล่าสัตว์ในป่าหิมะวันและได้แวะมาพักที่อาศรมพระฤษี ครั้น ได้เห็นนางมัทนาในโฉมของนารีผู้งดงามก็ถึงกับตะลึงและตกหลุมรัก จนถึงกับรับสั่งให้มหาดเล็กปลูกพลับพลาพักแรมไว้ใกล้อาศรมนั้น ทันทีท้าวชัยเสนรำพันถึงความรักลึกซึ้ง ที่มีต่อนางมัทนา ครั้น เมื่อนางมัทนาออกมาที่ลานหน้าอาศรมก็มิเห็นผู้ใด ด้วยเพราะท้าวชัยเสนหลบไปแฝงอยู่หลังกอไม้ นางมัทนาได้พรรณนาถึงความรักที่เกิดขึ้น ในใจอย่างท่วมท้น ท้าวชัยเสนได้สดับฟังทุกถ้อยความจึงเผยตัวออกมาทั้งสองจึงกล่าวถึงความรู้สึกอันล้ำลึกในใจที่ตรงกันจนเข้าใจในรักที่มีต่อกัน จากค่ำคืนถึงยามรุ่งอรุณ ท้าวชัยเสนจึงทรงประกาศหมั้น และคำสัญญารัก ณ ริมฝั่งลำธารใกล้อาศรมนั้นเมื่อมีความรักแล้ว นางมัทนาก็ยังคงรูปเป็นนารีผู้งดงาม มิต้องกลายรูปเป็นกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤษีก็ยกให้โดยให้จัดพิธีบูชาทวยเทพและพิธีวิวาห์มงคลในป่านั้นเสียก่อน  ท้าวชัยเสนเสด็จกลับวังหลายเพลาแล้วแต่ก็มิได้เสด็จไปยังพระตำหนักข้างในด้วยว่ายังทรงประทับอยู่แต่ในอุทยาน พระนางจัณฑี มเหสีให้นางกำนัลมาสืบดูจนรู้ว่าพระสวามีนำสาวชาวป่ามาด้วย จึงตามมาพบท้าวชัยเสนกำลังอยู่กับนางมัทนาพอดี เมื่อพระนางจัณฑีเจรจาค่อนขอดดูหมิ่นนางมัทนา ท้าวชัยเสนก็กริ้ว และทรงดุด่าว่าเป็นมเหสีผู้ริษยาพระนางจัณฑีแค้นใจนัก ให้คนไปทูลฟ้องพระบิดาผู้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาทำศึกกับท้าวชัยเสน จากนั้น ก็คบคิดกับนางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ ทำอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าวชัยเสนว่านางมัทนาป่วย ครั้น เมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จกลับมาเยี่ยมนางมัทนา ก็กลับพบหมอพราหมณ์กำลังทำพิธีอยู่ใกล้ๆต้นกุหลาบ วิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจัณฑีจึงทูลใส่ความว่านางมัทนาให้ทำเสน่ห์เพื่อให้ได้ร่วมชื่นชูสมสู่กับศุภางค์ท้าวชัยเสนกริ้ว นัก รับสั่งให้ศุภางค์ประหารนางมัทนาแต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่ พระนางจัณฑีได้ช่องรีบเข้ามาทูลว่าตนจะอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดาซึ่งคงเข้าใจผิดว่า นางกับท้าวชัยเสนนั้น บาดหมางกัน แต่ท้าวชัยเสนตรัสว่าทรงรู้ทันอุบายของนางที่คิดก่อศึกแล้วจะห้ามศึกเอง พระองค์จะขอออกทำศึกอีกคราแล้วตัดหัวกษัตริย์มคธพ่อตาเอามาให้นางผู้ขบถต่อสวามีตนเอง  ขณะตั้ง ค่ายรบอยู่ที่นอกเมือง วิทูรพรหมณ์เฒ่าได้มาขอเข้าเฝ้าท้าวชัยเสนเพื่อสารภาพความทั้ง ปวงว่าพระนางจัณฑีเป็นผู้วางแผนการร้าย ซึ่งในที่สุดแล้วตนสำนึกผิดและละอายต่อบาปที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องได้รับโทษประหาร
ท้าวชัยเสนทราบความจริงแล้วคั่งแค้นจนดำริจะแทงตนเองให้ตาย แต่อำมาตย์นันทิวรรธนะเข้าห้ามไว้ทันและสารภาพว่าในคืนเกิดเหตุนั้น ตนละเมิดคำสั่ง มิได้ประหารศุภางค์และนางมัทนาหากแต่ได้ปล่อยเข้าป่าไป ซึ่งนางมัทนานั้น ได้โสมะทัตศิษญ์เอกของฤษีกาละทรรศินนำพากลับสู่อาศรมเดิม แต่ศุภางค์นั้น แฝงกลับเข้าไปร่วมกับกองทัพแล้วออกต่อสู้กับข้าสึกจนตัวตายท้าวชัยเสนจึงรับสั่งให้ประหารท้าวมคธที่ถูกจับมาเป็นเชลยไว้ก่อนหน้านั้น แล้ว ส่วนพระนางจัณฑีมเหสีนัน้ ทรงให้เนรเทศออกนอกพระนคร ด้วยทรงเห็นว่าอันนารีผู้มีใจมุ่งร้ายต่อผู้เป็นสามีก็คงต้องแพ้ภัยตนเอง มิอาจอยู่เป็นสุขได้นานแน่ฝ่ายนางมัทนานั้น ได้ทำพิธีบูชาเทพและวอนขอร้องให้สุเทษณ์จอมเทพช่วยนางด้วย สุเทษณ์นั้น ก็ยินดีจะแก้คำสาปและรับนางเป็นมเหสี แต่นางมัทนาก็ยังคงปฏิเสธและว่าอันนารีจะมีสองสามีได้อย่างไร สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนายังคงปฏิเสธความรักของตนจึงกริ้ว นักสาปส่งให้นางมัทนาเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีกต่อไปเมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่า นางปริยัมวะทาที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาด้วยก็ทูลเล่าความทั้งสิ้น ให้ทรงทราบ ท้าวชัยเสนจึงร้องร่ำให้ด้วยความอาลัยรักแล้วขอให้พระฤษีช่วย โดยใช้มนตราและกล่าวเชิญนางมัทนาให้ยินยอมกลับเข้าไปยังเวียงวังกับตนอีกคราเมื่อพระฤษีทำพิธีแล้ว ท้าวชัยเสนก็รำพันถึงความหลงผิดและความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงสามารถขุดต้นกุหลาบได้สำเร็จ ท้าวชัยเสนได้นำต้นกุหลาบขึ้น วอทองเพื่อนำกลับไปปลูกในอุทยาน และขอให้ฤาษีกาละทรรศินให้พรวิเศษว่ากุหลาบจะยังคงงดงามมิโรยราตราบจนกว่าตัวพระองค์เองจะสิ้น อายุขัย พระฤษีก็อวยพรให้ดังใจ และประสิทธิประสาทพรให้กุหลาบนั้น ดำรงอยู่คู่โลกนี้มิมีสูญพันธ์ อีกทั้ง ยังเป็นไม้ดอกที่กลิ่นอันหอมหวานสามารถช่วยดับทุกข์ในใจคนและดลบันดาลให้จิตใจเบิกบานเป็นสุขได้ ชาย-หญิงเมื่อมีรักก็จักใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป




บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์

-  โปรแกรม imovie
-  เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
-  เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.gmail.com ,   www.google.com

       วิธีการดำเนินงาน
1)              คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา  ( ใช้เวลา1 วัน )
2)              ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน ( ใช้เวลา 3 วัน )
3)              จัดทำโครงงานประเภทสื่อเพื่อการศึกษา เรื่องปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น ( ใช้เวลา 3 วัน )
4)              จัดทำผลงานในโปรแกรม Microsoft word 2013  ( ใช้เวลา 3 วัน )
5)              เผยแพร่ผลงานการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บบล็อก  ( ใช้เวลา 1 วัน )

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

           การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog)  เรื่อง มัทนะพาธานี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับวรรณคดีไทย เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

ผลการพัฒนาเว็บบล็อก    

            การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง มัทนะพาธา นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://nichacha.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ http://nichacha.blogspot.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ tarnntan nichrat ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว 

บทที่ 5
สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจัดทำโครงงานมัทนะพาธา นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1     การดำเนินงานจัดทำโครงงาน

 5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                 1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง มัทนะพาธา
    2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    3.   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

             5.1.2  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
                               1. โปรแกรม imovie
              2.   เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
              3.   เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com,  www.google.com


5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
         การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง  มัทนะพาธานี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ  จากนั้นhttps://nichacha.blogspot.comได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อhttps://nichacha.blogspot.com ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อtarnntan nicharat ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว

5.3 ข้อเสนอแนะ   
      
เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว  แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม  ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง   เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
 
ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
 - ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม

5.4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา

 - ด้วยระยะเวลาอันจำกัด รวมทั้งกิจกรรมของโรงเรียน จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย




บรรณานุกรม


https://sites.google.com/site/learnthaibykrugikk/mathna-phatha



ภาพผนวก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง มัทนะพาธา

โครงงานคอมพิวเตอร์ ประเภท  สื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง มัทนะพาธา โดย นางสาว ณิชารัศม์ จารุรังสีพัชญ์ เลขที่13 นางสาว ณัฏฐณิชา พรห...